analyticstracking
หัวข้อ   “ ความเครียดและความกังวลของคนไทยต่อสถานการณ์ COVID-19 ณ ปัจจุบัน
                 จากการรายงานยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่พุ่งสูงขึ้นเป็นหลักหมื่นในแต่ละวันทำให้
     ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 เครียดและกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด โดยร้อยละ 72.7 เครียดว่า
     ตนเองและครอบครัวจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น และร้อยละ 69.6 เครียดเรื่องการทำมาหากินยากลำบาก
     รายได้ลด ถูกเลิกจ้าง หนี้สินเพิ่ม
                 ทั้งนี้ร้อยละ 46.2 เป็นห่วงว่าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในไทยยังเพิ่มขึ้น
     ยืดเยื้อต่อไปอาจทำให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนแย่ลง
                  ส่วนวิธีคลายเครียดที่นิยมทำมากที่สุดในช่วงนี้คือ ทำงานบ้าน ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นเกม
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง
“ความเครียดและความกังวลของคนไทยต่อสถานการณ์ COVID-19 ณ ปัจจุบัน”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,194 คน พบว่า
 
                  จากการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่พุ่งสูงขึ้นเป็น
หลักหมื่นในแต่ละวันทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 เครียดและกังวล
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 36.1 เครียดและกังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  โดยเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่เครียดและกังวลมากที่สุดคือ กลัว
ตนเองและครอบครัวเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ร้อยละ 72.7
รองลงมาคือ การ
ทำมาหากินลำบาก รายได้ลด ถูกเลิกจ้าง หนี้สินเพิ่ม ร้อยละ 69.6 และ เชื้อโรคแพร่
กระจาย ยอดผู้ติดเชื้อรายวันมีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 48.9
 
                  ทั้งนี้กิจกรรมคลายเครียดช่วง COVID-19 ที่นิยมทำมากที่สุด คือ
ทำงานบ้าน ร้อยละ 50.0
รองลงมาคือ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ร้อยละ 49.6 และ
ปลูกต้นไม้ ปลูกพืชสวนครัว ร้อยละ 44.2
 
                  สำหรับเรื่องที่ประชาชนห่วงและกังวลมากที่สุด หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
ในไทยยังเพิ่มขึ้นยืดเยื้อต่อไป คือ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอาจแย่ลง มีโจร ขโมย และ
อาชญากรรมมากขึ้น ร้อยละ 46.2
รองลงมาคือ ระบบสาธารณสุข อาจจะรับมือไม่ไหว ร้อยละ 25.9 และการฟื้นฟู
กิจการต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว การนำเข้า ส่งออก อาจทำได้ช้าลง ร้อยละ 12.9
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. จากการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่พุ่งสูงขึ้นเป็นหลักหมื่นในแต่ละวัน ทำให้
                  ท่านมีความเครียดและกังวลมากน้อยเพียงใด


 
ร้อยละ
เครียดและกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น เครียดและกังวลค่อนข้างมาก ร้อยละ 31.2 เครียดและกังวลมากที่สุด ร้อยละ 32.7)
63.9
เครียดและกังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็น เครียดและกังวลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 26.3 เครียดและกังวลน้อยที่สุด ร้อยละ 9.8)
36.1
 
 
             2. จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบัน ท่านมีความเครียดและกังวลเรื่องใดมากที่สุด
                  5 อันดับแรก


 
ร้อยละ
กลัวตนเองและครอบครัวเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น
72.7
การทำมาหากินลำบาก รายได้ลด ถูกเลิกจ้าง หนี้สินเพิ่ม
69.6
เชื้อโรคแพร่กระจาย ยอดผู้ติดเชื้อรายวันมีแนวโน้มสูงขึ้น
48.9
ต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ไปไหนมาไหนลำบาก เป็นเวลานาน
41.9
ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ป้องกัน COVID-19
39.4
 
 
             3. กิจกรรมคลายเครียดช่วง COVID-19 ที่นิยมทำมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

 
ร้อยละ
ทำงานบ้าน
50.0
ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม
49.6
ปลูกต้นไม้ ปลูกพืชสวนครัว
44.2
เล่นโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม tiktok
42.4
ออกกำลังกาย
37.0
 
 
             4. หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในไทยยังเพิ่มขึ้นยืดเยื้อต่อไป
                  ท่านห่วงและกังวลในเรื่องใดมากที่สุด


 
ร้อยละ
คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนแย่ลง มีโจร ขโมย และ
อาชญากรรมมากขึ้น
46.2
ระบบสาธารณสุข อาจจะรับมือไม่ไหว
25.9
การฟื้นฟูกิจการต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว การนำเข้า ส่งออก อาจทำได้ช้าลง
12.9
ประชาชนเกิดความเครียดสะสมมากขึ้น
7.0
ความกระตือรือร้นในการเรียนและการทำงานลดลง
4.9
กระทบต่อความมั่นใจในการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ
3.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเครียดและกังวลต่อสถานการณ์ COVID-19 ในปัจจุบัน
เรื่องที่เครียดและกังวล ตลอดจนวิธีคลายเครียดและเรื่องที่ห่วงกังวลหากสถานการณ์ดังกล่าวยืดเยื้อ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมอง
ความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก
ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 16-18 สิงหาคม 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 21 สิงหาคม 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
494
41.4
             หญิง
700
58.6
รวม
1,194
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
183
15.3
             31 – 40 ปี
240
20.1
             41 – 50 ปี
284
23.8
             51 – 60 ปี
265
22.2
             61 ปีขึ้นไป
222
18.6
รวม
1,194
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
877
73.5
             ปริญญาตรี
276
23.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
41
3.4
รวม
1,194
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
116
9.7
             ลูกจ้างเอกชน
259
21.7
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
542
45.4
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
35
2.9
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
163
13.7
             นักเรียน/นักศึกษา
34
2.8
             ว่างงาน
44
3.7
รวม
1,194
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
กรุงเทพโพลล์    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898